วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556



สรุปวิจัย

เรื่อง  ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์
อำพวรรณ์   เนียมคำ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ


เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-ความหมายของความสามารถทางคณิตศาสตร์
-ความสำคัญ
-จุดมุ่งหมาย
-แนวความคิด และเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
-การประเมินผลการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์
-งานวิจัยเกี่ยวข้องกับความสามารถทางคณิตศาสตร์


1.ความหมายทางคณิตศาสตร์  คือการเตรียมความพร้อม  เรื่องของการสังเกต การเปรียบเทียบรูปร่าง  น้ำหนัก  ขนาด  สิ่งที่เหมือนกันแตกต่างกัน  ความยาว 
2.ความสำคัญ  คือ ความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การสังเกต  การเปรียบเทียบ การแยกหมู่  การรวมหมู่  การเพิ่ม -การลดจำนวน เพื่อให้เด็กเข้าใจทางคณิตศาสตร์โดยการปฏิบัติมากกว่าเรียนเนื้อหาทางทฤษฎี
3.จุดมุ่งหมาย ในที่นี้ดิฉันขอยกมาหนึ่งท่านที่ได้กล่าวไว้
 (เยาวพา เดชะยุปต์ ) ได้กล่าวไว้ว่า
-ความคิดรวบรวมในเรื่องคณิตศาสตร์
-ความสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
-ทักษะวิธีการในการคิดคำนวณ
-สร้างบรรยากาศในการคิดอย่างสร้างสรรค์
-ส่งเสริมเป็นเอกัตบุคคลในตัวเด็ก
4.แนวคิดและเนื้อหาเกี่ยวกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ในที่นี้ขอยกมาหนึ่งท่านที่ได้กล่าวแนวคิด (ประกายรัตน์  ภัทรธิติ)
 อายุ3-4ปี
-ขนาด  สามารถเปรียบเทียบ ขนาดใหญ่-เล็ก  หนา-บาง
-สีที่เห็นเด่นชัด  แดง  น้ำเงิน  เหลือง  ดำ  ขาว
-น้ำหนัก  หนัก-เบา
-สัดส่วน  ผอม-อ้วน 
-จำนวน  มาก-น้อย
-ตัวเลข   สามารถ0-3ได้
-ตำแหน่ง  หน้า-หลัง   บน-ล่าง
อายุ4-5ปี
-เปรียบเทียบสิ่งของ3สิ่่ง ที่มีขนาดต่างกันได้
-รู้จักการผสมสี  สีอ่อน  สีเข้ม
-สามารถนับ  0-5ได้
5.การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยศึกษา   
สรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งถือว่า เป็นทักษะทีช่วยพัฒนาสติปัญญา และความคิดนั้นเกิดจาก ที่เด็กได้มีโอกาสปะทะสังสรรค์กับสิ่งแวดล้อม  การจัดประสบการณ์ ง่ายไปยาก คือเริ่มจากจริงแล้วไปสู่ของจำลองสัญลักษณ์  และสิ่งที่เป็นนามธรรม และจะต้องสอดคล้องกับพัฒนาการวุฒิภาวะ ลักษณะของเด็ก
6.การประเมินผลการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์
พฤติกรรมและความสามารถ
1.นับเลข 1-30 ได้
2.รู้ค่าจำนวน
3.ชี้และบอกรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
วิธีการประเมิน
1.สังเกตจากการให้เด็กเรียงลำดับ1-30
2.แทนค่าตามตัวเลข
3.สังเกตชี้และบอกรูปทรง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น